Easy E-Receipt 2568 ลดหย่อนภาษี 50,000 บาท เริ่มเมื่อไหร่ ใช้ยังไง

2024-12-23 IDOPRESS

เช็กสิทธิ Easy E-Receipt ช้อปลดหย่อนภาษี 50,000 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง ข้อห้ามยกเว้นซื้ออะไรไม่ได้ เงื่อนไขใช้สิทธิอย่างไร เริ่มเมื่อไหร่

กลับมาอีกครั้ง สำหรับมาตรการช้อปซื้อสินค้าและได้ลดหย่อนภาษี อย่างตัวมาตรการ Easy E-Receipt (อีซี่ อี-รีซีท) เป็นมาตรการที่ให้บุคคลธรรมดาสามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท โดยคาดว่าจะเริ่มต้นในช่วงกลางเดือน มกราคม 2568 จนถึงสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 2568 และนำไปยื่นลดหย่อนภาษีในปี 2569

รายละเอียดเบื้องต้น Easy E-Receipt (อีซี่ อี-รีซีท) ดังนี้

ซื้อสินค้าและบริการ ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 50,000 บาทในจำนวน 50,000 บาท แบ่งเป็นไม่เกิน 30,000 บาท ใช้ซื้อสินค้าและบริการ แพ็คเกจท่องเที่ยว โรงแรม และอีกไม่เกิน 20,000 บาท ซื้อสินค้าจากร้านค้า OTOP และวิสาหกิจชุมชนเริ่มใช้สิทธิตั้งแต่กลางเดือน มกราคม จนถึงสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 2568 รวม 45 วัน หรือ 1 เดือน 15 วันต้องมีหลักฐานใบกำกับภาษีหรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) เป็นแบบออนไลน์เท่านั้นยื่นลดหย่อนภาษีในช่วงต้นปี 2569

Easy E-Receipt ใครบ้างได้สิทธิ?

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

รายการสินค้าที่ไม่เข้าร่วม Easy E-Receipt ได้แก่


1.ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์


2.ค่าซื้อยาสูบ


3.ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ


4.ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ


5.ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต


6.ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

คุณสมบัติร้านค้าผู้ประกอบการ Easy E-Receipt


1.ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)


2.ผู้ประกอบการ OTOP และ วิสาหกิจชุมชน


3.สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 ข่าวการเงินกรุงเทพธุรกิจ      ติดต่อเรา   SiteMap