ประกันชีวิต ข้อดี ประโยชน์ความคุ้มครอง มีกี่ประเภท เลือกแบบไหนดี

2024-12-06 HaiPress

ทำประกันชีวิต ข้อดี ประโยชน์ความคุ้มครองเป็นอย่างไร ประกันชีวิตมีกี่ประเภทกี่แบบ และเลือกแบบไหนดี?

ในทุกวันนี้คนไทยตื่นรู้กับการทำประกันชีวิตมากขึ้น เพราะมีข้อดีมากมายหลายด้าน ทั้งประโยชน์ด้านความคุ้มครอง วางแผนการเงิน ที่พึ่งยามฉุกเฉิน และลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ข้อดีของการทำประกันชีวิต

เป็นประโยชน์มากในด้านความคุ้มครอง เพราะหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน สามารถทำให้คุณและครอบครัวใช้ชีวิตได้อย่างอุ่นใจ และช่วยแบ่งเบาภาระคนในครอบครัวได้ความคุ้มครอง แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของประกันชีวิตที่คุณเลือกทำไว้ ที่จะมีทั้งให้การดูแลในเรื่องค่ารักษาพยาบาล การชดเชยรายได้ หรือการจ่ายเงินชดเชยตามที่ระบุไว้ในสัญญากรณีเสียชีวิตการชำระเบี้ยประกันเป็นประจำทุกเดือน จะช่วยสร้างวินัยในการเก็บออม โดยการทำประกันชีวิตแบบการออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์ จะช่วยให้สามารถวางแผนทางการเงินในระยะยาวได้อย่างปลอดภัย และได้รับผลตอบแทนเป็นเงินก้อนเมื่อครบสัญญาเป็นที่พึ่งสำคัญยามฉุกเฉิน การทำประกันชีวิตเอาไว้ ช่วยให้มีเงินใช้จ่ายในยามจำเป็นหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น การเสียชีวิต การเกิดโรคร้ายแรง หรืออุบัติเหตุ เงินที่ได้จากประกันชีวิตจะช่วยให้มีเงินสำรองในการดำเนินชีวิตต่อไปได้ในยามฉุกเฉินลดหย่อนภาษี ผู้ที่มีรายได้และต้องเสียภาษีเป็นประจำย่อมรู้ดีว่า จะต้องวางแผนใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในแต่ละปี ซึ่งเบี้ยประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครองชีวิตตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ก็สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน

การทำประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี

สามารถหักลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี สำหรับบุคคลธรรมดา โดยเบี้ยประกันสุขภาพ สามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิต จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ

ประกันชีวิตมีกี่ประเภท กี่แบบ?


1.ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Team Insurance) เป็นประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตามระยะเวลาที่จำกัดเช่น 1 ปี 5 ปี 10 ปี ซึ่งกรมธรรม์จะสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลา ซึ่งหากพ้นกำหนดระยะเวลาในการคุ้มครองไปแล้วแต่ผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่ สัญญาก็จะถือเป็นอันสิ้นสุด โดยผู้เอาประกันภัยจะไม่ได้รับเงินคืนจากกรมธรรม์ สำหรับข้อดีของประกันชีวิตประเภทนี้คือมีค่าเบี้ยประกันภัยที่ไม่สูงมากนัก

2.ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) เป็นประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดอายุขัย หรือจนถึงอายุที่กำหนด เช่น 90 ปี 99 ปี โดยหากผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญาก็จะได้เงินทุนประกันชีวิตกลับไปตามที่ระบุในกรมธรรม์ แต่หากเสียชีวิตในระยะเวลาที่คุ้มครอง ทายาทโดยธรรม หรือผู้รับผลประโยชน์จะได้เงินสินไหมทดแทนตามที่ระบุในกรมธรรม์ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพจึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องการมีเงินส่วนหนึ่งเป็นเงินเก็บ เพื่อให้ความคุ้มครองระยะยาวแก่ตนเองและครอบครัว แต่จะมีเบี้ยประกันที่ค่อนข้างสูง

3.แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) เป็นประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองชีวิต พร้อมการเก็บออมเงิน ซึ่งถือเป็นการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ซึ่งหากผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญาก็จะได้รับเงินทุนประกันคืนพร้อมดอกเบี้ยที่ทางบริษัทระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยจะเลือกรับเป็นก้อนเดียวเมื่อครบสัญญา หรือรับปันผลระหว่างการส่งเบี้ยประกันก็ได้เช่นกัน แต่หากเสียชีวิตในระหว่างปีกรมธรรม์ ทายาท หรือผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุไว้จะได้รับผลประโยชน์ตามที่กรมธรรม์กำหนด จึงถือเป็นการวางแผนการเงินในอนาคตที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งโดยส่วนใหญ่แล้วยังให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการออมเงินในธนาคารแบบปกติด้วย

4.แบบเงินได้ประจำ (Annuities Insurance) หรือที่เรียกว่าประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองกรณีเกษียณอายุ โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัย ทุกปี นับตั้งแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี ตามสัญญา จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการความมั่นคงด้วยการรับเงินอย่างสม่ำเสมอหลังเกษียณ แต่อาจให้ความคุ้มครองน้อยเมื่อเทียบกับแบบประกันชีวิตอื่น ๆ

5.ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked Insurance) เป็นประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต และเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนไปพร้อมกัน โดยเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนที่เป็นประกันชีวิตและอีกส่วนนำไปลงทุน ซึ่งส่วนที่เป็นเบี้ยประกันชีวิต จะถูกนำไปหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิต เช่น ค่าบริหารจัดการกรมธรรม์ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และส่วนที่เหลือจะนำไปลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งผู้เอาประกันสามารถเลือกกองทุนรวมได้ตามความเสี่ยงที่รับได้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมตราสารหนี้ โดยสามารถเพิ่มเงินในส่วนของเงินลงทุน หรือถอนเงินจากกรมธรรม์ในส่วนเงินลงทุนออกมาใช้ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน แต่จะไม่มีการรับประกันมูลค่ากรมธรรม์ เนื่องจากมูลค่ากรมธรรม์จะขึ้นอยู่กับมูลค่าหน่วยลงทุน โดยอาจสูงขึ้นหรือต่ำลงตามผลประกอบการของกองทุนรวม

เลือกประกันชีวิตแบบไหนดี? ใครที่กำลังวางแผนทำประกันชีวิต แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรทำแบบไหนดี อาจพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ

กำหนดเป้าหมาย


การกำหนดเป้าหมายนับเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เอาประกันสามารถตัดสินใจเลือกประเภทประกันชีวิตที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเองได้ง่ายขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายว่า ต้องการทำประกันชีวิตไปเพื่ออะไร เช่น เพื่อเป็นเงินมรดก เพื่อเป็นเงินออม หรือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยามเกษียณ แล้วนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจ ก็จะช่วยให้สามารถทำประกันได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด

พิจารณาประโยชน์ที่เหมาะสมกับความต้องการ


หลังจากกำหนดเป้าหมายได้แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงประโยชน์ที่เหมาะสมกับความต้องการและวัตถุประสงค์ของผู้เอาประกันด้วย ซึ่งมีหลากหลายด้าน ดังนี้

ประโยชน์ด้านความคุ้มครองชีวิต คือการให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยและครอบครัวในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือทุพพลภาพประโยชน์ด้านการลงทุน คือโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนจากเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปประโยชน์ด้านภาษี คือการลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไป

เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือ


บริษัทประกันภัยและตัวแทนประกันภัยนับเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ส่งผลต่อการเลือกทำประกันชีวิต โดยควรเลือกบริษัทหรือตัวแทนที่ให้ข้อมูลได้อย่างครบถ้วน สามารถอธิบายทุกข้อสงสัยได้อย่างกระจ่าง โดยไม่ปกปิดข้อมูลสำคัญที่ควรรู้ อีกทั้งยังต้องพิจารณาจากบริษัทที่มีความมั่นคงทางการเงิน เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันได้ตามกรมธรรม์

ที่มา : พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 ข่าวการเงินกรุงเทพธุรกิจ      ติดต่อเรา   SiteMap