ด่วน ธ.ก.ส.เปิดเงื่อนไข ปล่อยกู้ฉุกเฉิน ช่วยน้ำท่วม คนละ 5 หมื่นถึง 2 แสนบาท

2024-08-26 HaiPress

ในช่วงเกิดอุทกภัย น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและพื้นที่การเกษตรโดยตรง รวมถึงกระทบต่อการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ในการประกอบอาชีพ

ล่าสุด ธ.ก.ส. จัดมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าวในรูปแบบเงินกู้ เพื่อเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูลูกค้า เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำในการนำไปสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โรงเรือนการเกษตร เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึงการฟื้นฟูการผลิตที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท

มี 2 รูปแบบ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

1) โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ปี 2567/68

วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรในด้านค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น

อัตราดอกเบี้ย0% 6 เดือนแรก เดือนที่ 7 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ6.975)

วงเงินรายละไม่เกิน 50,000 บาท

ขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันนี้ -31 มี.ค. 68

ระยะชำระหนี้ภายใน 3 ปี สามารถเลือกผ่อนได้ รายเดือน/ไตรมาส/6 เดือน /รายปี

หลักประกันเงินกู้ ใช้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 95% ของวงเงิน หรือใช้บุคคลรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน หรือใช้บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปค้ำประกัน ให้กู้ได้ไม่ 5 หมื่นบาท

2) โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต

วัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าลงทุนในการซ่อมแซมบ้านเรือนและทรัพย์สิน ค่าซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรรอบใหม่

วงเงินรายละไม่เกิน 500,000 บาท

อัตราดอกเบี้ย MRR-2 (ปัจจุบัน MRR อยู่ที่ 6.975%)

ชำระหนี้ภายใน 15 ปี สามารถเลือกผ่อนได้ รายเดือน/ไตรมาส/6 เดือน/รายปี

ใช้หลักประกันบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปค้ำประกัน ให้กู้ได้ไม่ 2 แสนบาท

สำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยดังกล่าว สามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 0-2555-0555 ตลอด 24 ชั่วโมง

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 ข่าวการเงินกรุงเทพธุรกิจ      ติดต่อเรา   SiteMap