เปิด TOP5 ราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าและ กทม.-ปริมณฑล พุ่งสูงสุดรอบปี

2024-07-26 HaiPress

ราคาที่ดินชานเมือง โตแซงหน้าในเมือง นครปฐมแชมป์พุ่ง 82% บิ๊กอสังหาฯ แห่ซื้อปลูกบ้านขาย ขณะที่ดินในเมืองค่อนข้างแพง แถมเศรษฐกิจฝืด-ดอกแพง-เสียภาษีที่ดิน

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ได้เผยดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 67 มีค่าเท่ากับ 398.2 จุด เพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ลดลง 2.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเติบโตของราคาที่ดินเปล่าคงมีการปรับตัวขึ้นในทิศทางที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ย 5 ปีในช่วงก่อนเกิดโควิด ที่เพิ่มขึ้น 14.8%

สำหรับราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก เมื่อเทียบกับปีก่อน

อันดับ 1 ได้แก่ ที่ดินโซนนครปฐม ราคาสูงขึ้น 82.1%อันดับ 2 ได้แก่ ที่ดินในโซนกรุงเทพชั้นใน ประกอบด้วยเขตจตุจักร ห้วยขวาง ยานนาวา วัฒนา คลองเตย พญาไท บางคอแหลมป้อมปราบศัตรูพ่าย บางซื่อ ดินแดง ราชเทวี และบางรัก ราคาที่ดินสูงขึ้น 17.8%อันดับ 3 ได้แก่ ที่ดินในโซนสมุทรสาคร ราคาสูงขึ้น 13.4%อันดับ 4 ได้แก่ ที่ดินในโซนตลิ่งชัน บางแค ภาษีเจริญ หนองแขมทวีวัฒนา ธนบุรี คลองสาน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ราคาสูงขึ้น13.3%อันดับ 5 ได้แก่ เมืองปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว สามโคก ราคาสูงขึ้น 12.6%

”ภาวะราคาที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงข้างต้นได้สะท้อนว่า ที่ดินที่อยู่บริเวณชานเมืองของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของเมือง ที่เกิดจากการพัฒนาขยายตัวของโครงการระบบถนนทางหลวงและทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และโครงการรถไฟฟ้าเพิ่มเติม ประกอบกับราคาที่ดินบริเวณชานเมืองยังคงมีราคาไม่สูงมากนัก ทำให้สามารถพัฒนาเป็นโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบที่สอดคล้องกับความสามารถในการซื้อของผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยแนวราบได้ จึงทำให้ผู้ประกอบการเข้าพัฒนาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานเมืองมากขึ้น ขณะที่ราคาที่ดินของโซนกรุงเทพชั้นในเริ่มมีการปรับตัวสูงขึ้น จากการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชน“

สำหรับราคาที่ดินเปล่าแนวเส้นทางรถไฟฟ้า 5 อันดับแรกที่ขยายตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่มีโครงการรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้วและเป็นทำเลที่มีสถานีเชื่อมต่อระหว่างสายรถไฟฟ้า

อันดับ 1 ได้แก่ สายสีน้ำเงินเป็นโครงการที่เปิดให้บริการแล้ว และสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) เป็นโครงการในอนาคต ซึ่งราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 17.8% โดยราคาที่ดินในเขตสาทร พญาไทและดินแดง เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมากสุดอันดับ 2 ได้แก่ สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) สายสีทอง (ธนบุรี-ประชาธิปก)และสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) มีราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 16.7% โดยราคาที่ดินในเขตภาษีเจริญ บางพลัด และธนบุรี เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมากอันดับ 3 ได้แก่สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต)และสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-มธ.รังสิต)ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น15.6% โดยราคาที่ดินในลำลูกกา ธัญบุรี และเขตบางเขน เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมากอันดับ 4 ได้แก่ สายสีลม (บีทีเอส) และสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ)เพิ่มขึ้น 15% โดยราคาที่ดินในเขตภาษีเจริญ ธนบุรี และบางแค เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมากอันดับ 5 ได้แก่ สายสีแดงเข้ม (หัวลำโพง-มหาชัย) เป็นโครงการในอนาคต ราคาเพิ่มขึ้น 14.9% โดยราคาที่ดินในเขตเมืองสมุทรสาคร และบางขุนเทียน เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 ข่าวการเงินกรุงเทพธุรกิจ      ติดต่อเรา   SiteMap